วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 18 (เรียนชดเชย)

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ทีได้รับ
-นำเสนอการทดลอง
-ส่งชิ้นงานทุกชิ้น ได้แก่
1.สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์
2.ของเล่นวิทยาศาสตร์
3.สื่อการทดลอง

การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ "ปืนยิงลูกบอลจาลูกโป่ง"
 
 
วัสดุ-อุปกรณ์
1.แกนเทปกาว



2.กรรไกร
3.ลูกโป่ง
4.เศษผ้า 
 
วิธีทำ
1.ตัดก้นลูกโป่งออกเล็กนอย
 
2.มัดปากลูกโป่ง
 
3.นำลูกโป่งครอบลงกับแกนเทปกาว
 
4.นำเศษผ้ามาทำเป็นลูกบอล
 
5.สามารถยิงได้เลย
 
วิธีการเล่น
หาลูกโป่งลูกเล็กๆ หรือลูกปิงปองมาให้เล่นคู่กัน จากนั้นหงายเครื่องยิงลูกบอลขึ้น เอาลูกบอลใส่ลงไปในแกนเทปกาว ใช้มืออีกข้างดึงจุกลูกโป่งลงมาแล้วปล่อยออกไป ลูกบอลก็จะลอยออกไปไกล

สาเหตุ
การที่ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเพราะถูกลูกโป่งจากด้านหลังที่เราดึงจนตึงดันอย่างแรง จึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงดันของลูกโป่ง
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 17

วันพุธ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ
 
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     - การศึกษาธรรมชาติรอบตัว
     - การศึกษาอย่างมีระบบ
     - การศึกษาอย่างมีเหตุผล
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     - มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
     - ช่วยพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล
     - ทำให้เราค้นพบความเปลี่ยนแปลง
     - พัฒนาปรับปรุงสิ่งรอบตัว
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     - มีความสามรถในการคิด
     - มีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     - ขั้นพัฒนาการทางวิทยาศตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
     -เกิดจากที่เส้นใยสมองเชื่อมต่อกัน
     - อุปสรรคของการเรียน
     - ความหมายของการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     - กระบวนการเบื่องต้น
     - วิธีการจัดประสบการณ์
     - กระบวนการผสม
     - วิธีการใช้สื่อ
 
ทักษะที่ได้รับ
1.การทำงานอย่างเป็นระบบ

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การสอนสรุปเนื้อหาด้วย concept Mild mapping
                 
 
    
 
 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 16

วัยพุธ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking .. ไข่ตุ๋นแฟนซี
1. ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า
2. ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม เช่น
     - เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา??"
     - เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ"
     - เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ ไข่ตุ๋นเป็นยังไง "
 3. ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆได้ทราบ
4. ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม และแครอต
5. เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น โดยการตีไข่ให้เข้ากัน ใส่แครอท ผักชี ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
และใส่ซีอิ๊วขาวเพิ่มความอร่อย ^^
6. นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงการทำไข่ตุ๋นครั้งนี้
 
 
ภาพการประกอบอาหาร
 


 
 
 
ทักษะที่ได้รับ

1. ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
2. ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน