วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 18 (เรียนชดเชย)

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ทีได้รับ
-นำเสนอการทดลอง
-ส่งชิ้นงานทุกชิ้น ได้แก่
1.สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์
2.ของเล่นวิทยาศาสตร์
3.สื่อการทดลอง

การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ "ปืนยิงลูกบอลจาลูกโป่ง"
 
 
วัสดุ-อุปกรณ์
1.แกนเทปกาว



2.กรรไกร
3.ลูกโป่ง
4.เศษผ้า 
 
วิธีทำ
1.ตัดก้นลูกโป่งออกเล็กนอย
 
2.มัดปากลูกโป่ง
 
3.นำลูกโป่งครอบลงกับแกนเทปกาว
 
4.นำเศษผ้ามาทำเป็นลูกบอล
 
5.สามารถยิงได้เลย
 
วิธีการเล่น
หาลูกโป่งลูกเล็กๆ หรือลูกปิงปองมาให้เล่นคู่กัน จากนั้นหงายเครื่องยิงลูกบอลขึ้น เอาลูกบอลใส่ลงไปในแกนเทปกาว ใช้มืออีกข้างดึงจุกลูกโป่งลงมาแล้วปล่อยออกไป ลูกบอลก็จะลอยออกไปไกล

สาเหตุ
การที่ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเพราะถูกลูกโป่งจากด้านหลังที่เราดึงจนตึงดันอย่างแรง จึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงดันของลูกโป่ง
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 17

วันพุธ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ
 
สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
ความหมายของวิทยาศาสตร์
     - การศึกษาธรรมชาติรอบตัว
     - การศึกษาอย่างมีระบบ
     - การศึกษาอย่างมีเหตุผล
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     - มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
     - ช่วยพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล
     - ทำให้เราค้นพบความเปลี่ยนแปลง
     - พัฒนาปรับปรุงสิ่งรอบตัว
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     - มีความสามรถในการคิด
     - มีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     - ขั้นพัฒนาการทางวิทยาศตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
     -เกิดจากที่เส้นใยสมองเชื่อมต่อกัน
     - อุปสรรคของการเรียน
     - ความหมายของการเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     - กระบวนการเบื่องต้น
     - วิธีการจัดประสบการณ์
     - กระบวนการผสม
     - วิธีการใช้สื่อ
 
ทักษะที่ได้รับ
1.การทำงานอย่างเป็นระบบ

การนำไปประยุกต์ใช้
1.การสอนสรุปเนื้อหาด้วย concept Mild mapping
                 
 
    
 
 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 16

วัยพุธ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking .. ไข่ตุ๋นแฟนซี
1. ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำกิจกรรม cooking ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า
2. ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม เช่น
     - เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา??"
     - เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ"
     - เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ ไข่ตุ๋นเป็นยังไง "
 3. ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆได้ทราบ
4. ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม และแครอต
5. เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น โดยการตีไข่ให้เข้ากัน ใส่แครอท ผักชี ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
และใส่ซีอิ๊วขาวเพิ่มความอร่อย ^^
6. นำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที ระหว่างการรอไข่ตุ๋นสุกนั้นครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงการทำไข่ตุ๋นครั้งนี้
 
 
ภาพการประกอบอาหาร
 


 
 
 
ทักษะที่ได้รับ

1. ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
2. ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน
 


วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

      - ผู้สอนได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุวแก้ไข blogger ของนักศึกษาแต่ละคน
      - ทำกิจกรรมกลุ่ม "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"

ภาพ
การรวมกลุ่มการทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร"
 
 
 
 
 
 
 ภาพแผนการสอน
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพ
การนำเสนออาหารที่จะเขียนแผนการสอน "ต้มจืด"
 
 
 
 
 
 
 
 
ทักษะที่ได้รับ
 
1. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง
 
การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย
 


 
 
 



การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด*

หมายเหตุ
*ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานมาแล้วให้เรียบร้อย*

 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

หมายเหตุ

ได้มอบหมายงานไว้ คือ การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน














การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


* ศึกษาดูงาน 27-28 สิงหาคม 2556*

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์




















 



 

การเข้าชัั้้นเรียนครั้งที่ 11

วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

*ไม่มีการเรียนการสอน* 
 
     เนื่องจากผู้สอนได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้
1. ทำการทดลองวิทยาศษสตร์
2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
3. ทำว่าวใบไม้
4. ศึกษาหาข้อมูลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556
 
 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เข้าสอน 08:50 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08:25 น.

กิจกรรมการเรีย  การสอน

      - นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลาบมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556
      - ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
      - แจกแจงหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน


การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้เข้าร่วมอบรมโครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556




** ไม่มีการเรียน การสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 **





การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เขาสอน 09.00 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08.25 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.กระบวนการเบื่องต้น
- การสังเกต
- การวัด
- การจำแนกประเภท
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
- การสื่อความหมาย
- การคำนวณ
- การพยากรณ์
2.กระบวนการผสม
- การตั้งสมมติฐาน
- การกำหนดเชิงปฎิบัติการณ์
- การกำหนดดเวลาควบคุมตัวแปร
- การทดลอง
- การตีความหมายข้อมูลและสรุปความ
3.วิธีการจัด
- จัดแบบเป็นทางการ
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- รูปแบบการสอนต่างๆ
- ประกอบอาหาร
- โครงการวิทยาศาสตร์
- ทัศนศึกษา
- ไม่เป็นทางการ
- จัดมุมวิมยาศาสตร์
- สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
- จัดตามเหตุการณ์
- ธรรมชาติ
- สิ่งที่พอเห็น
4.วิธีการใช้สื่อ
- เลือก
- เหมาะกับหน่วย
- เหมาะกับพัฒนาการ
- เวลาและสถานที่
- กิจกรรม
- เตรียม
- อุปกรณ์
- ทดลองใช้
- ลงมือใช้
- การประเมิน



ดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย



5.ลักษณะของProject Approach
- การอภิปราย
- การนำเสนอประสบการณ์เดิม
- การทำงานภาคสนาม
- การสืบค้น
- การจัดแสดง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
1.ความหมายทักษะการสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
3.ความหมายทักษะการวัด
การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยหาหน่วยการวัดกำกับ
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
การู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
7.ความหมายทักษะการคำนวน
ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การลวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
เทคนิคการวิเคราะห์
- What
- Where
- When
- Why
- Who
- How

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หมายเหตุ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้ คือ ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

การเล่น

(เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วข้าพเจ้านำเสนอการทดลอง)

กิจกรรม จรวดลูกโป่ง




วัสดุอุปกรณ์

ลูกโป่ง

วิธีทำ

หาลูกโป่งมา 1 ใบ ใช้ปากเป่าให้พองที่ละน้อย จนพองเต็มที่ เตรียมปล่อยลูกโป่งออกจากมือ

แนวคิด

จากการทำจรวดลูกโป่งปรากฎว่าเมื่อเป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่แล้ว อากาศที่อยู่ในลูกโป่งจะดันเพื่อที่จะออกจากลูกโป่งทุกทิศทาง แต่ก็ออกไม่ได้เพราะเราปิดช่องที่ลมจะออกไว้ทุกด้าน ต่อเมื่อเราปล่อยลูกโป่งให้หลุดออกจากมือของเรา อากาศจึงดันออกมาทางที่เราเป่าลมเข้าไป เนื่องจากว่าเราเป่าลมเข้าไปอัดไว้ในลูกโป่งเป็นจำนวนมาก พอเราปล่อยลูกโป่งให้เป็นอิสระลมในลูกโป่ง ซึ่งเตรียมที่จะออกอยู่แล้วจะทำให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

........................................................................................................................................................................

สื่อไว้ในมุมประสบการณ์

กิจกรรม ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง


วัสดุอุปกรณ์

1.กรรไกร
2.ลูกโป่งขนาด 7 นิ้ว หนึ่งลูก
3.เทปใสขนาดใหญ่ที่ใช้แล้ว

วิธีการทำ
- มัดจุกลูกโป่ง แล้วเอากรรไกรตัดบริเวณก้นลูกโป่งออกเล็กน้อย
- จากนั้นกางลูกโป่งด้านที่ตัดก้นออก แล้วครอบลงไปบนแกนเทปกาวที่เตรียมไว้



วิธีการเล่น
หาลูกโป่งลูกเล็กๆ หรือลูกปิงปองมาให้เล่นคู่กัน จากนั้นหงายเครื่องยิงลูกบอลขึ้น เอาลูกบอลใส่ลงไปในแกนเทปกาว ใช้มืออีกข้างดึงจุกลูกโป่งลงมาแล้วปล่อยออกไป ลูกบอลก็จะลอยออกไปไกล

สาเหตุ
การที่ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเพราะถูกลูกโป่งจากด้านหลังที่เราดึงจนตึงดันอย่างแรง จึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงดันของลูกโป่ง

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เข้าสอน 08.45 น.
นักศึกษาข้าเรียน 08.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

กิจกรรม ฟองน้ำหรรษา (การทดลอง)

วัสดุอุปกรณ์
1.เหยือกน้ำ
2.น้ำ
3.สบู่/กีลเซอลีน
4.หลอดดูด
5.ถ้วยไอศครีม
6.ลวด
วิธีทำ
1.นำน้ำใส่ในเหยือก จากนั้นผสมน้ำยาล้างจาน
2.คนให้เข้ากัน สามารถเป่าได้เลย
3.ดัดลวดเป็นรัปและขนาดตามต้อง
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำฟองสบู่ที่ผสมเสร็จแล้วใส่ภาชนะ
2.นำลวดที่ดัดไว้จุ่มลงไป
3.เป่าไปที่ลวดแล้วจะเกิดฟอง
(เนื่องจากข้าพเจ้านำมาผิดจากการเล่นเป็นการทดลอง)
ทักษะที่ได้รับ
1.การนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
การนำไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำไปดัดแปลงมาเป็นของเล่นสำหรับเด็กได้

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ 2556

อาจารย์เข้าสอน 08.35 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง" และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า "กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด"

มหัศจรรย์ของน้ำ


- น้ำเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต น้ำสามารถปรับสมดุลและอณุหภูมิในร่างกายเรา ฉะนั้นน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวัน

คุณสมบัติของน้ำ

1. จากของแข็ง เป็น ของเหลว
2. จากของเหลว เป็น ของแข็ง
3. จากก๊าซ เป็น ไอน้ำ

ทักษะที่ได้รับ

1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2. ทักษะการคิด ทดลอง และหาข้อเท็จจริง


การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์วิทยาศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัย




การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 3

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ 2556

อาจารย์เข้าสอน 10.00 น. *เนื่องจากติดภาระกิจราชการ*
นักศึกษาเข้าเรียน 08.30 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

- ให้นักศึกษาดู VCD เรื่อง..... ความลับของแสง และสรุปองค์ความรู้หลักๆ

ความลับของแสง

แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ

การทดลอง การมองเห็นของแสง

1.เจาะรูกล่องกระดาษแล้วนำวัตถุใส่ลงในกล่องปิดฝามองผ่านรูกระดษาที่เจาะ
ผลรับคือ เราไม่สามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้เนื่องจากแสงไม่ผ่านเข้าไปในกล่อง
2.เจาะรูเพิ่มอีก1รู แล้วปิดฝากล่อง นำไฟฉายส่องผ่านรูที่ 2 แล้วมองผ่านรูแรกที่เจาะ
ผลรับคือ เมื่อมีแสงผ่านเข้าไปทำให้เรามองเห็นวัตถุในกล่องได้ชัดเจน

วัตถุที่แสงทะลุผ่าน
1.วัตถุโปร่งแสง
- แสงจะทะลุผ่านบางส่วน
2.วัตถุโปร่งใส
- แสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมด
3.วัตถุทึบแสง
-ไม้ หิน เหล็ก

คุณสมบัติของแสง
1.การเดินทางของแสง
2.การสะท้อนของแสง
3.การหักเหของแสง

ทักษะที่ได้รับ
1.การทดลองวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแสง
2.การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและหาข้อเท็จจริง โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์

การนำไปประยุคใช้
1.เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากVCDไปปรับใช้ในกิจกรรมที่จะจัดให้เด็ก

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 1

วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ 2556

กิจกรรมการเรียนการสอน

อาจารย์พูดเรื่องการเข้าเรียน
เครื่องมือที่เกิดการรียนรู้ของมนุษย์มี 2 ชนิด คือ ภาษาและคณิตศาสตร์

การปฐมนิเทศรายวิชา

มารยาทในการเข้าเรียน

- ควรแต่งกายให้ถูกระเบียบ
- ไม่นำอาหารเครื่องดื่มเข้าห้องเรียน

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 2

วันพุธ ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ2556

อาจารย์เข้าสอน 08.25 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

เนื้อหาการเรียนในรายวิชา

-คำอธิบาย
-ความคาดหวัง
-ออกแบบการจัดการเรียนการสอน
-การหาความรู้จากแหล่งต่างๆ

องค์ความรู้ที่ได้รับ

-ให้นักศึกษาจับกลุ่มๆละ 6 คนแล้วทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระดังนี้
1.ความหมายของวิทยาศาสตร์
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ (หัวข้อที่กลุ่มข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย)
3.พัฒนาการทางสติปัญญา
4.การเรียนรู้
5.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

วิธีการดำเนินงานในกิจกรรมครั้งนี้

- เมื่อจับกลุ่มได้แล้วอาจารย์แจกเนื้อหาสาระให้แต่ละกลุ่มๆละ1ชุด แล้วให้นักศึกษาเวียนกันอ่านในกลุ่มจนครบทั้งหมด6เรื่อง
- เมื่อคนในกลุ่มอ่านหมดทุกเรื่องแล้ว อาจารย์ให้แชร์ความคิดกันว่าแต่ละคนมีความคิดแตกต่างกันอย่างไร แล้วให้สรุปความเป็นเรื่องเดียวกัน
- เมื่อเขียนของกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ส่งตัวแทนของทุกกลุ่ม เพื่อให้ไปแปลกเปลี่ยนความคิดของเพื่อนกลุ่มอื่นโดยการวนไปทุกกลุ่มจนครบ 6 กลุ่ม
- หลังจากนั้นอาจารย์ให้สรุปเป็น Mind Map แล้วส่งตัวแทนออกไปรายงานหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 2 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์มีความสำคัญมากในชีวิตของมนุษย์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็เป็นความรู้จากวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทำให้คนคิดอย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาอย่างมีระบบ