วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

      - ผู้สอนได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุวแก้ไข blogger ของนักศึกษาแต่ละคน
      - ทำกิจกรรมกลุ่ม "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"

ภาพ
การรวมกลุ่มการทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร"
 
 
 
 
 
 
 ภาพแผนการสอน
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพ
การนำเสนออาหารที่จะเขียนแผนการสอน "ต้มจืด"
 
 
 
 
 
 
 
 
ทักษะที่ได้รับ
 
1. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง
 
การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย
 


 
 
 



การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด*

หมายเหตุ
*ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานมาแล้วให้เรียบร้อย*

 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียน การสอน


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

หมายเหตุ

ได้มอบหมายงานไว้ คือ การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน














การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


* ศึกษาดูงาน 27-28 สิงหาคม 2556*

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์




















 



 

การเข้าชัั้้นเรียนครั้งที่ 11

วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

*ไม่มีการเรียนการสอน* 
 
     เนื่องจากผู้สอนได้มอบหมายให้ทำงาน ดังนี้
1. ทำการทดลองวิทยาศษสตร์
2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
3. ทำว่าวใบไม้
4. ศึกษาหาข้อมูลโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556
 
 

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เข้าสอน 08:50 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08:25 น.

กิจกรรมการเรีย  การสอน

      - นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลาบมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556
      - ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
      - แจกแจงหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน


การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้เข้าร่วมอบรมโครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556




** ไม่มีการเรียน การสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 **





การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เขาสอน 09.00 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08.25 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.กระบวนการเบื่องต้น
- การสังเกต
- การวัด
- การจำแนกประเภท
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
- การสื่อความหมาย
- การคำนวณ
- การพยากรณ์
2.กระบวนการผสม
- การตั้งสมมติฐาน
- การกำหนดเชิงปฎิบัติการณ์
- การกำหนดดเวลาควบคุมตัวแปร
- การทดลอง
- การตีความหมายข้อมูลและสรุปความ
3.วิธีการจัด
- จัดแบบเป็นทางการ
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- รูปแบบการสอนต่างๆ
- ประกอบอาหาร
- โครงการวิทยาศาสตร์
- ทัศนศึกษา
- ไม่เป็นทางการ
- จัดมุมวิมยาศาสตร์
- สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
- จัดตามเหตุการณ์
- ธรรมชาติ
- สิ่งที่พอเห็น
4.วิธีการใช้สื่อ
- เลือก
- เหมาะกับหน่วย
- เหมาะกับพัฒนาการ
- เวลาและสถานที่
- กิจกรรม
- เตรียม
- อุปกรณ์
- ทดลองใช้
- ลงมือใช้
- การประเมิน



ดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย



5.ลักษณะของProject Approach
- การอภิปราย
- การนำเสนอประสบการณ์เดิม
- การทำงานภาคสนาม
- การสืบค้น
- การจัดแสดง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก
1.ความหมายทักษะการสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
3.ความหมายทักษะการวัด
การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยหาหน่วยการวัดกำกับ
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
การู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
7.ความหมายทักษะการคำนวน
ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การลวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
เทคนิคการวิเคราะห์
- What
- Where
- When
- Why
- Who
- How

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หมายเหตุ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้ คือ ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

การเล่น

(เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วข้าพเจ้านำเสนอการทดลอง)

กิจกรรม จรวดลูกโป่ง




วัสดุอุปกรณ์

ลูกโป่ง

วิธีทำ

หาลูกโป่งมา 1 ใบ ใช้ปากเป่าให้พองที่ละน้อย จนพองเต็มที่ เตรียมปล่อยลูกโป่งออกจากมือ

แนวคิด

จากการทำจรวดลูกโป่งปรากฎว่าเมื่อเป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่แล้ว อากาศที่อยู่ในลูกโป่งจะดันเพื่อที่จะออกจากลูกโป่งทุกทิศทาง แต่ก็ออกไม่ได้เพราะเราปิดช่องที่ลมจะออกไว้ทุกด้าน ต่อเมื่อเราปล่อยลูกโป่งให้หลุดออกจากมือของเรา อากาศจึงดันออกมาทางที่เราเป่าลมเข้าไป เนื่องจากว่าเราเป่าลมเข้าไปอัดไว้ในลูกโป่งเป็นจำนวนมาก พอเราปล่อยลูกโป่งให้เป็นอิสระลมในลูกโป่ง ซึ่งเตรียมที่จะออกอยู่แล้วจะทำให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

........................................................................................................................................................................

สื่อไว้ในมุมประสบการณ์

กิจกรรม ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง


วัสดุอุปกรณ์

1.กรรไกร
2.ลูกโป่งขนาด 7 นิ้ว หนึ่งลูก
3.เทปใสขนาดใหญ่ที่ใช้แล้ว

วิธีการทำ
- มัดจุกลูกโป่ง แล้วเอากรรไกรตัดบริเวณก้นลูกโป่งออกเล็กน้อย
- จากนั้นกางลูกโป่งด้านที่ตัดก้นออก แล้วครอบลงไปบนแกนเทปกาวที่เตรียมไว้



วิธีการเล่น
หาลูกโป่งลูกเล็กๆ หรือลูกปิงปองมาให้เล่นคู่กัน จากนั้นหงายเครื่องยิงลูกบอลขึ้น เอาลูกบอลใส่ลงไปในแกนเทปกาว ใช้มืออีกข้างดึงจุกลูกโป่งลงมาแล้วปล่อยออกไป ลูกบอลก็จะลอยออกไปไกล

สาเหตุ
การที่ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเพราะถูกลูกโป่งจากด้านหลังที่เราดึงจนตึงดันอย่างแรง จึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามแรงดันของลูกโป่ง

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อาจารย์เข้าสอน 08.45 น.
นักศึกษาข้าเรียน 08.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

กิจกรรม ฟองน้ำหรรษา (การทดลอง)

วัสดุอุปกรณ์
1.เหยือกน้ำ
2.น้ำ
3.สบู่/กีลเซอลีน
4.หลอดดูด
5.ถ้วยไอศครีม
6.ลวด
วิธีทำ
1.นำน้ำใส่ในเหยือก จากนั้นผสมน้ำยาล้างจาน
2.คนให้เข้ากัน สามารถเป่าได้เลย
3.ดัดลวดเป็นรัปและขนาดตามต้อง
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำฟองสบู่ที่ผสมเสร็จแล้วใส่ภาชนะ
2.นำลวดที่ดัดไว้จุ่มลงไป
3.เป่าไปที่ลวดแล้วจะเกิดฟอง
(เนื่องจากข้าพเจ้านำมาผิดจากการเล่นเป็นการทดลอง)
ทักษะที่ได้รับ
1.การนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
การนำไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำไปดัดแปลงมาเป็นของเล่นสำหรับเด็กได้

การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ 2556

อาจารย์เข้าสอน 08.35 น.
นักศึกษาเข้าเรียน 08.20 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับ

- ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง" และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า "กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด"

มหัศจรรย์ของน้ำ


- น้ำเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต น้ำสามารถปรับสมดุลและอณุหภูมิในร่างกายเรา ฉะนั้นน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวัน

คุณสมบัติของน้ำ

1. จากของแข็ง เป็น ของเหลว
2. จากของเหลว เป็น ของแข็ง
3. จากก๊าซ เป็น ไอน้ำ

ทักษะที่ได้รับ

1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2. ทักษะการคิด ทดลอง และหาข้อเท็จจริง


การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์วิทยาศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัย




การเข้าชั้นเรียนครั้งที่ 3

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ 2556

อาจารย์เข้าสอน 10.00 น. *เนื่องจากติดภาระกิจราชการ*
นักศึกษาเข้าเรียน 08.30 น.

กิจกรรมการเรียนการสอน

- ให้นักศึกษาดู VCD เรื่อง..... ความลับของแสง และสรุปองค์ความรู้หลักๆ

ความลับของแสง

แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ

การทดลอง การมองเห็นของแสง

1.เจาะรูกล่องกระดาษแล้วนำวัตถุใส่ลงในกล่องปิดฝามองผ่านรูกระดษาที่เจาะ
ผลรับคือ เราไม่สามารถมองเห็นวัตถุในกล่องได้เนื่องจากแสงไม่ผ่านเข้าไปในกล่อง
2.เจาะรูเพิ่มอีก1รู แล้วปิดฝากล่อง นำไฟฉายส่องผ่านรูที่ 2 แล้วมองผ่านรูแรกที่เจาะ
ผลรับคือ เมื่อมีแสงผ่านเข้าไปทำให้เรามองเห็นวัตถุในกล่องได้ชัดเจน

วัตถุที่แสงทะลุผ่าน
1.วัตถุโปร่งแสง
- แสงจะทะลุผ่านบางส่วน
2.วัตถุโปร่งใส
- แสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมด
3.วัตถุทึบแสง
-ไม้ หิน เหล็ก

คุณสมบัติของแสง
1.การเดินทางของแสง
2.การสะท้อนของแสง
3.การหักเหของแสง

ทักษะที่ได้รับ
1.การทดลองวิทยาศาสตร์ในเรื่องของแสง
2.การรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและหาข้อเท็จจริง โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์

การนำไปประยุคใช้
1.เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากVCDไปปรับใช้ในกิจกรรมที่จะจัดให้เด็ก